วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562

แมวพันธุ์ศุภลักษณ์ (Burmese)

แมวพันธุ์ศุภลักษณ์ (Burmese)




แมวพันธุ์ศุภลักษณ์เป็นแมวที่มักใกล้ชิดกับคน ซึ่งแมวพันธุ์นี้เกือบจะเหมือนสุนัขตรงที่พวกมันมีแนวโน้มที่จะติดตามเจ้าของเพื่อมอบและรับความรัก ความจริงแล้วมีแมวพันธุ์ศุภลักษณ์หลายตัวที่เรียนรู้วิธีการเล่นคาบสิ่งของมาให้เจ้าของด้วยซ้ำ

ลักษณะภายนอก

ลักษณะภายนอกของแมวพันธุ์นี้ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงตลอดหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีมาตรฐานของปี ค.ศ.1953 ระบุว่าแมวศุภลักษณ์มีลำตัวขนาดกลางที่ยาวและงดงาม ในขณะที่มาตรฐานของปี ค.ศ.1957 ระบุว่าแมวพันธุ์นี้เป็นจุดกึ่งกลางระหว่างแมวพันธุ์พื้นเมืองขนสั้นและแมวพันธุ์วิเชียรมาศ
อย่างไรก็ตาม แมวพันธุ์นี้สามารถถูกแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ European Burmese และ Contemporary Burmese ซึ่งแมวชนิดแรกนั้นมีจมูกและปากที่ยาวและแคบกว่า โดยมีรอยแยกที่จมูกไม่เด่นชัด อีกทั้งยังมีศีรษะที่แคบกว่าเล็กน้อย ในขณะที่แมวชนิดที่สองนั้นมีจมูกและปากที่สั้นและกว้างมากกว่า รวมถึงมีรอยแยกตรงจมูกที่ชัดเจน และมีศีรษะที่กว้างและเป็นทรงกลมมากกว่า ยิ่งไปกว่านั้น แมวชนิด Contemporary Burmese มีสีขนเป็นสีน้ำตาล ในขณะที่ European Burmese มีสีขนที่ดูสว่างกว่าอย่างสีแดง

นิสัยและอารมณ์

แมวพันธุ์ศุภลักษณ์เป็นแมวที่ฉลาด เปี่ยมล้นไปด้วยพลัง ขี้เล่น และทำให้คนขบขันกับพฤติกรรมที่แปลกพิกล อย่างไรก็ตาม อารมณ์ของแมวตัวเมียและตัวผู้มีความแตกต่างบางประการ แมวตัวเมียดูขี้สงสัยและติดเจ้าของมากกว่า ในขณะที่แมวตัวผู้ทำตัวเงียบมากกว่า แต่ไม่ว่าจะเป็นแมวเพศใดก็ล้วนแต่ชอบอยู่เป็นเพื่อนมนุษย์ อีกทั้งยังแสดงความสนใจในอาหารเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี เสียงของแมวพันธุ์นี้มีลักษณะเหมือนกับเสียงของม้าที่เจ็บคอเพราะส่งเสียงร้องมากเกินไป แต่เสียงกลับเบากว่าแมวพันธุ์วิเชียรมาศ และจะส่งเสียงในลำคอเมื่อกระสับกระส่ายหรือหงุดหงิด

ความเป็นมาและภูมิหลัง

ภูมิหลังของแมวศุภลักษณ์เกิดขึ้นเมื่อหลายพันปีที่แล้ว และมีตำนานว่าบรรพบุรุษของแมวพันธุ์นี้เป็นที่สักการะอยู่ในวัดในฐานะของพระเจ้าในประเทศพม่า อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยว่าแมวพื้นเมืองพันธุ์นี้มีที่มาจาก Wong Mau ซึ่งเป็นแมวเพศเมียที่พบในประเทศพม่า และถูกส่งไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงต้นของคริสต์ทศวรรษ 1930 โดย Dr. Joseph Thompson
หลังจากที่ Thompson ได้แมวดังกล่าวแล้ว เขาก็เริ่มทำการเพาะพันธุ์ โดยผสมข้ามสายพันธุ์กับแมวพันธุ์วิเชียรมาศแบบแต้มสีครั่งที่มีชื่อว่า Tai Mau ลูกแมวที่ได้ออกมานั้นมีทั้งสีเบจ สีน้ำตาล และลายแต้ม ซึ่งแมวสีน้ำตาลได้ถูกนำมาผสมกับแมวตัวอื่น หรือกับแม่ของมันจนได้แมวพันธุ์ศุภลักษณ์เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดี แมวพันธุ์นี้ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจาก Cat Fancier's Association (CFA) ในปี ค.ศ.1936 แต่เมื่อมีผู้เพาะพันธุ์จำนวนมากที่เริ่มนำแมวจากประเทศพม่าเข้ามายังประเทศสหรัฐอเมริกา ความเข้มข้นของแมวสายพันธุ์นี้ก็เริ่มเจือจาง ทำให้ CFA ไม่ยอมรับแมวพันธุ์นี้ แต่นักเพาะพันธุ์แมวก็พยายามปรับปรุงสายพันธุ์จนสุดท้ายมันก็กลับมาได้รับการยอมรับอีกครั้งในปี ค.ศ.1953 และได้ดำรงตำแหน่งแชมป์ในปี ค.ศ.1959

ที่มา : https://www.honestdocs.co/burmese

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น