แมวพันธุ์คูพารี (Coupari)
ลักษณะภายนอก
มีการเปรียบเทียบลักษณะภายนอกของแมวพันธุ์คูพารีกับนกฮูกตรงที่มันมีดวงตาขนาดใหญ่และกลมโต ประกอบกับมีสีหน้าที่ดูใจดี มีแก้มที่อิ่มเอม และมีจมูกสั้น สำหรับลักษณะเด่นที่สำคัญของแมวพันธุ์นี้คือ ใบหูที่พับลงมานั่นเอง ซึ่งหูของแมวจะไม่พับจนกว่ามันจะมีอายุ 3 เดือน ขนที่นุ่ม ยืดหยุ่น และมีชั้นเดียวนั้นมีลักษณะยาว และมีหลายสีและลวดลาย
นิสัยและอารมณ์
คูพารีเป็นแมวที่ว่านอนสอนง่ายและชอบแสดงความรักมาก แมวพันธุ์นี้ชอบมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ และมันจะรู้สึกเศร้าหากถูกปล่อยให้อยู่เพียงลำพัง ความจริงแล้วแมวพันธุ์นี้จะส่งเสียงร้องและต้องการได้รับความสนใจเป็นบางโอกาส ซึ่งมันอาจใช้ศีรษะถูกับขาเพื่อให้เจ้าของลูบตัวแบบเร็วๆ
โดยมากแล้วแมวจะเกาะติดสมาชิกในครอบครัวเพียงคนเดียว แต่ทั้งนี้มันก็เป็นแมวที่สุภาพและใจดีต่อคนอื่นๆ และเข้ากับเด็กหรือสัตว์เลี้ยงตัวอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้คูพารียังเป็นแมวที่ฉลาดมาก และเจ้าของสามารถสอนให้มันเดินโดยสายจูง หรือเล่นเกมคาบสิ่งของกลับมาให้
การดูแล
ด้วยความที่คูพารีมีขนยาว เจ้าของควรตัดขนให้แมวอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ดังนั้นการเริ่มตัดขนให้แมวตั้งแต่ยังเป็นเด็กจึงเป็นเรื่องที่ดี โดยใช้หวีซี่ห่างในการสางขนที่พันกัน และกำจัดขี้หูส่วนเกินในหูโดยใช้ผ้าเปียกอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
สุขภาพ
คูพารีมีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 15 ปี และเจ้าของควรพาสุนัขไปฉีดวัคซีนเป็นประจำ และพาไปตรวจสุขภาพ 2 ครั้งต่อปี อย่างไรก็ดี แมวพันธุ์นี้เสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจและโรคถุงน้ำในไต ซึ่งเป็นภาวะที่มักนำไปสู่การเกิดไตวาย นอกจากนี้คูพารียังเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกี่ยวกับข้อต่อ แม้ว่าเป็นโรคที่รักษาได้ แต่ก็ไม่หายขาดเสมอไป
ความเป็นมาและภูมิหลัง
แมวพันธุ์นี้มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศสก็อตแลนด์ ในปี ค.ศ.1961 มีการค้นพบว่าแมวสีขาวที่เลี้ยงในฟาร์มตัวหนึ่งที่ชื่อว่า Susie มีใบหูที่ผิดปกติ ทั้งนี้ Suzie ได้ส่งต่อลักษณะที่ผิดปกติดังกล่าวให้ลูกหลาน แต่ก็มีแมวบางตัวที่มีขนยาวในขณะที่แมวบางตัวมีขนสั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการกำหนดมาตรฐานให้แมวพันธุ์สก็อตติช โฟลด์ มีการระบุถึงแมวที่มีขนสั้นเท่านั้น ส่วนแมวชนิดขนยาวนั้นกลับถูกประณามเพราะมันดูเหมือนไร้ใบหู แต่เมื่อช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 Hazel Swadberg ซึ่งเป็นผู้จัดงานแสดงแมวชาวอเมริกันก็เริ่มนำแมวพันธุ์สก็อตติช โฟลด์ชนิดขนยาวมาโชว์ตัวในงาน ซึ่งมันก็ได้กลายเป็นแมวที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับ ในปี ค.ศ.1986 The International Cat Association หรือ TICA ได้ยอมรับแมวพันธุ์นี้อย่างเป็นทางการโดยเป็นสายพันธุ์ที่แยกออกมาต่างหาก แต่มีการตั้งชื่อสายพันธุ์เป็นแมวพันธุ์สก็อตติช โฟลด์ชนิดขนยาว เมื่อถึงปี ค.ศ.1991 Cat Fanciers' Foundation หรือ CFF ได้มอบตำแหน่งแชมป์ให้แมว ในขณะเดียวกัน American Cat Fanciers' Association หรือ ACFA เรียกแมวพันธุ์นี้ว่า Highland Fold
ที่มา : https://www.honestdocs.co/coupari
ที่มา : https://www.honestdocs.co/coupari
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น